วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักการ และความแตกต่างของมวยหย่งชุน

หลักการ และความแตกต่างของมวยหย่งชุน

1)มวยหย่งชุนไม่ใช่เป็นมวยที่มีแต่อ่อนอย่างเดียวอย่างที่คิดความเป็นจริงแล้วมีทั้งแข็ง-อ่อนผสมในเวลาเดียวกันด้วยหลักสุริยัน-จันทรา

2)มวยหย่งชุนหรือมวยจีนสายกังฟูทั่วไปเป็นมวยที่เน้นในเรื่องโครงสร้าง และแรงในเป็นหลัก

ขึ้นอยู่กับ 5 หลัก คือ

1. โครงสร้าง

2. ส่งแรง

3. สัมผัส

4. ความเร็ว

5. ประสบการณ์

3)ความแตกต่างของมวยหย่งชุนกับมวยจีนสายอื่นที่ไม่เหมือนกันคือ

1. รุกและรับ ในเวลาเดียวกัน

2. การสัมผัสที่สั้น และไวกว่า

3. ไม่ยึดติดกับลีลา และกระบวนท่า (แต่คงอยู่ในกระบวนท่า)

4. การฝึกฝนมุ่ง และทำลายจุดอ่อนของศัตรู และของตัวเอง

4)สำนักหงส์ฟ้ามังกรพยัคฆ์ไม่ได้เน้นสอนมวยหย่งชุนอย่างเดียว สาเหตุเพราะครูฝึกต้องการให้ลูกศิษย์ได้สัมผัส-เรียนรู้หลากหลายวิชา ในพื้นฐานความเป็นจริงของวิชาอื่นๆ เพื่อประโยชน์ต่อการฝึกฝนของลูกศิษย์


** การเรียนมวยอย่ามุ่งแต่ทฤษฏี และประวัติ ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติ และสัมผัสความเป็นจริง การอ่านฟัง ไหนจะรู้เท่าการอ้างอิง**

**อย่าหูเบา ควรเชื่อในสิ่งที่สัมผัส และเห็นกับตาด้วยตัวเอง**

(สำนักเรายินดีต้อนรับผู้ที่อยากรู้มวยจีนสายกังฟูที่แท้จริงเสมอ)

จาก...อ. หวังหลินฟง

ปรัชญาของเส้นศูนย์กลาง และหลักของร่างกายในหย่งชุน

ปรัชญาของเส้นศูนย์กลาง

หย่งชุนถือว่าเส้นกลางไม่เพียงเป็นเส้นที่ใช้ในการต่อสู้ แต่มันรวมถึงจิตใจของผู้ปฎิบัติ สิ่งที่เราทำ ปัญหาที่เราแก้ไข วิถีชีวิตที่เราดำเนิน ถ้าเราหันเหไปซ้ายหรือขวามากเกินไป เราจะต้องเสียเวลาพอสมควรที่จะกลับสู่เส้นศูนย์กลาง เส้นศูนย์กลางไม่มีความคิดของตนเอง มันเปรียบเหมือนหลักของขงจื้อ เส้นกลางทำให้เรามองโลกได้ดีขึ้น หลักการจู่โจมก็คือหลักเดียวกัน

หลักของร่างกายในหย่งชุน

ร่างกายนำมือและมือนำร่างกาย ถ้าร่างกายจะนำมือหมายถึงการที่เราใช้พลังทั้งร่างกายเมื่อออกพลัง ร่างกายจะนำมือไปยังตำแหน่งที่ต้องการเมื่อเราหมุนตัว ถ้ามือนำร่างกายหมายถึงการที่เราเน้นความเร็วเหนือพลัง หลักทั้งสองนี้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากเราควรจะหาตัวอย่างของทั้งสองไว้ เมื่อเรา (ชี้เสา) ในมวยหย่งชุน เราจะสามารถหาและใช้ได้ทั้งสองหลัก แต่จำไว้ว่าคนที่ตีได้ก่อนไม่จำเป็นเสมอว่าจะเป็นผู้ชนะ จำไว้ว่าเราจะทำแต้มหรือจะน๊อคเอาท์คู่ต่อสู้ ถ้าทำแต้ม คือ มือนำตัว ถ้าน๊อกเอาท์ คือ ตัวนำมือ

โดย อาจารย์หวังหลลินฟง

มวยเส้นหย่งชุน ฉั่มคิ่ว (มวยเส้นที่ 2)

ฉั่มคิ่ว (มวยเส้นที่ 2) เป็นการขยับตัวของโครงสร้างร่างกาย-น้ำหนักตัว-การส่งแรงให้มั่นคงรวมเป็นหนึ่ง

ฉั่มคิ่วเป็นมวยชุดที่สำคัญ ก้าวหน้า และมีประโยชน์ที่สุดของมวยหย่งชุน (ผิดกับมวยหย่งชุนค่ายอื่นที่เน้นมวยชุดปิ้วจี๋มากกว่า) มวยชุดนี้เน้นการควบคุมสะพานมือของคู่ต่อสู้ และความสำคัญของโครงสร้าง จำไว้ถึงการหมุน และการเคลื่อนสลับของท่าอื่น คุณต้องฝังรากลงบนพื้นไม่ใช่หมุน แบบลูกข่าง ถ้าคุณหมุนแบบลูกข่างผมสามารถตบคุณด้วยผากเสา และทำให้คุณเสียการทรงตัว ฉะนั้นฝึกฉั่มคิ่วต้องช้า และตั้งใจบนพื้นฐานอันมั่นคง

โดย อาจารย์หวังหลินฟง

มวยเส้นหย่งชุน สิ่วนิมเถ่า (มวยเส้นที่ 1)

สิ่วนิมเถ่า (มวยเส้นที่ 1) เป็นการฝึกวางโครงสร้าง-การส่งแรง-สมาธิ-ความสงบนิ่ง-ปัญญา

สิ่วนิมเถ่า คือ กระบวนท่าฝึกฝนมากกว่ากระบวนท่าต่อสู้ จุดที่สำคัญที่สุด คือ โครงสร้างของร่างกาย และท่ายืน ฝึกเพื่อที่จะย้ายน้ำหนักของร่างกาย และท่ายืน ไม่มีการเคลื่อนที่เกินจำเป็นในการส่งพลังไปตามอาวุธต่างๆ เมื่อเราชกขณะฝึกสิ่วนิมเถ่า เราไม่เน้นเป้าหมายที่แน่นอน ฉะนั้นไม่มีการเน้นหรือมุ่งหมายมากมายในขั้นต้นของการฝึกฝน เมื่อเรากำหมัดให้บีบนิ้วกลาง และนิ้วนาง เพราะนั่นจะทำให้หมัดเรียบ และยังทำให้เราส่งพลังธรรมชาติได้ หายใจเป็นปกติ ตามองเป้าหมายมือตาม ใช้สายตามองไปข้างหน้า ทุกทิศทาง ใจสงบตามความหมายของชื่อมวยชุดนี้ คือ อย่ามีความคิดที่ใหญ่ แต่คงที่ไว้ซึ่งความคิดเล็กๆ


ดูท่ารำได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=luLnNFM-YSM

โดย อาจารย์หวังหลินฟง

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์-3


สามเหลี่ยม และศูนย์กลางของมวยหย่งชุน
หลักของสามเหลี่ยม หันหน้าสู้ คือ การฝึกหัด เพื่อที่จะเรียนรู้ถึงเส้นศูนย์รวม จุดมุ่งหมาย คือ การฝึกเพื่อที่จะให้เราสามารถเข้ารุกคู่ต่อสู้ได้ ด้วยสองมือในเวลาเดียวกัน และปกป้องรัศมีของตัวเราในกรอบที่เล็ก และสั้นที่สุด เริ่มฝึกโดยให้คู่ฝึกซึ่งอยู่ในท่า ไป่จ๊อง (ท่าเตรียมพร้อม) ยืดมือทั้งออกทั้งสองข้าง ประกบมือทั้งสองให้เป็นรูปสามเหลี่ยม หันเข้าหาเส้นศูนย์กลางของคู่ฝึก เมื่อคู่ฝึกเปลี่ยน ไป่จ๊อง เราก็เปลี่ยนตามหลักของเส้นศูนย์กลาง เส้นศูนย์กลาง คือ เส้นที่เข้าทำผู้ต่อสู้ที่สั้นที่สุดระหว่างคุณกับผู้ต่อสู้ของคุณ จุดประสงค์หลักของมวยหย่งชุน คือ การโจมตี เข้าเส้นศูนย์กลางใช้มัน ครอบครองมัน ควบคุมมัน

หลักการ 5 วิธี ของเส้นศูนย์กลาง
1. หันเข้าหาเส้นศูนย์กลาง หันหาคู่ต่อสู้ จมูก ต่อ จมูก เพื่อที่จะควบคุม หรืออาศัยอยู่ในศูนย์กลาง
2. ควบคุมเส้นศูนย์กลาง เราคงอยู่ และควบคุมเส้นกลางด้วยม้า และสะพาน แล้วไม่ปล่อยให้คู่ต่อสู้พ้นจากการควบคุมเรา
3. เปลี่ยนเส้นศูนย์กลาง เมื่อคู่ต่อสู้ควบคุม หรืออาศัยในเส้นศูนย์กลางเรา เราเพียงจำต้องเปลี่ยนมุมของการโจมตี (หรือหาศูนย์กลางใหม่)
4. การกลับสู่เส้นศูนย์กลาง คล้ายหลักการของการเปลี่ยนเส้นศูนย์กลาง ถ้าคู่ต่อสู้ควบคุมเส้นศูนย์กลางเรา เราต้องสู้เพื่อกู้เส้นศูนย์กลางกลับคืนมา (โดยใช้หลักโครงสร้าง และพลัง 7 ข้อ)
5. การทำลายเส้นศูนย์กลาง เมื่อคู่ต่อสู้อาศัยอยู่ที่เส้นศูนย์กลางเรา เราสามารถที่จะทำลายเส้นศูนย์กลางของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนท่าของมวยหย่งชุน เพื่อทำลายศัตรู

โดย อาจารย์หวังหลิน ฟง

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์-2


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักมวยหย่งชุน
1. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่มี (กระบวนหรือระบบ) ของการป้องกันตัวที่สมบรูณ์แบบไม่ใช่เป็นแค่ชื่อมวย หรือสไตล์รูปแบบ ไม่มีลีลากระบวนท่าที่สวยงาม ไม่มีการกระโดดโลดเต้น เน้นในพื้นฐานของความเป็นจริง
2. จุดมุ่งหมายของมวยหย่งชุนมุ่งที่การทำลายความกล้าของฝั่งตรงข้าม มีรุกไม่มีถอย (ถอยเฉพาะสลายแรงในวงแคบ)
3. มวยหย่งชุนไม่ใช่มวยที่เน้นเทคนิค แต่เน้นคอนเซ็ปในเรื่องปรัชญา ความคิด และโครงสร้างขึ้นอยู่กับความเป็นจริง (โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-แพทย์แผนโบราณ)
4. มวยหย่งชุนเมื่อเทียบกับมวยอื่นๆ แล้วเป็นมวยที่มีกระบวนท่าที่เร็ว กระชับที่สุด มันถูกคิดค้นขึ้นมา ให้เป็นมวยที่มีพื้นฐานบนความเร็วหนักหน่วงมั่นคง
5. หย่งชุนเน้นหนักมากในการเข้ากระทำในเวลาที่ควรไม่มีรูปแบบ
6. หย่งชุนควบคุม และคงอยู่ที่เส้นศูนย์กลาง และสามเหลี่ยม
7. หย่งชุนดักศัตรูทั้งร่างกาย ด้วยความคิด อารมณ์ และการกระทำ
8. หย่งชุนเน้นการปรับเข้าหาสถานการณ์โดยอาศัยความรู้สึก และสัมผัส การฝึกชี่เสาเป็นการฝึกเพื่อที่จะลดเวลาการโต้ตอบ ควบคุมจุดอ่อนของตัวเอง และจุดอ่อนของผู้ต่อสู้
9. หย่งชุนไม่มีกระบวนท่าแน่นอน การใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (ไร้รูป ไร้กระบวนท่า)
10. การฝึกมวยหย่งชุนต้องเน้นคู่ฝึก (และควรมีคู่ฝึกหลายๆ รูปแบบ)
11. หย่งชุนออกแรงจากร่างกายทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะแขน-ขา เน้นแรงจากโครงสร้าง น้ำหนัก และแรงใน ใช้ในการจู่โจม และตั้งรับ
12. ฝ่าเท้าของมวยหย่งชุนสำคัญเท่ากับมือหย่งชุน คือ นิ่ง และหนักหน่วง
13. การฝึกมวยหย่งชุน ถ้าให้ดีควรสัมผัสกับมวยทุกชนิด-ทุกรูปแบบ
14. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่ไม่ยึดติดกับรูปร่างใหญ่-เล็ก หรือน้ำหนักมาก-เบา (รูปร่างใหญ่-เล็ก-หนัก-เบา ย่อมมีจุดอ่อนของโครงสร้างเหล่านั้น)
15. มวยหย่งชุนเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่อาศัยการผ่อนแรง-ตามแรง-สัมผัส-ส่งแรง ตามหลักกลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถฝึกได้จนแก่เฒ่า ก็ยังฝึกได้ แล้วยังใช้ได้ดีด้วย

โดยอาจารย์หวังหลินฟง

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์ผู้สอน-1



มวยหย่งชุน
มวยหย่งชุนเริ่มมีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา เนื่องจากศิษย์หย่งชุนในขณะนั้นมีกิติศักดิ์เป็นผู้ชอบท้าประลองกับค่ายมวยอื่นๆ หย่งชุนขึ้นชื่อว่าเป็นมวยดูเรียบๆ ตรงไปตรงมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ยึดติดกับมวยจีนโบราณ
ถึงแม้ผมจะเรียนมวยอื่นมามากมาย แต่ผมก็โชคดีมากที่มีโอกาสได้ศึกษามวยหย่งชุนสายยิปมันกับอาจารย์ 2 ท่านโดยตรง ได้ทั้งสายอ่อน และสายแข็ง ผมได้ค้นคว้าศึกษา ฝึกฝน และพัฒนาเพิ่มเติมจากประสบการณ์มาตลอด เพื่อตั้งใจสอบ และเพื่อเผยแพร่มวยชุดนี้ถึงบุคคลอันควรในยุคต่อไป
มวยหย่งชุนเป็นมวยที่เรียนไม่ยาก เนื่องจากมีมวยรำกระบวนท่าเพียง 5 เส้น หุ่นไม้ 2 เส้น กระบองหกแต้มครึ่ง และมีดคู่แปดกระบวน 1 เส้น สายเดินลมปราณภายใน 1 เส้น

ความคิดเห็นจากอาจารย์
ในฐานะเป็นครูฝึก คุณต้องจำไว้ว่า ในระยะแรกนั้นมวยหย่งชุนสอนง่ายมาก เรียนรู้ได้เร็ว แต่คุณได้ทดสอบหรือยังว่ามวยหย่งชุนของคุณ ใช้ได้จริงๆ คุณสามารถใช้ความสามารถของคุณได้ในสถานการณ์จริงหรือไม่ คุณเคยใช้ประสบการณ์จริงๆ หรือไม่กับใคร มวยชนิดใดหรือหลายชนิดสามารถใช้มวยหย่งชุนกับมวยเหล่านั้นได้ไหม เมื่อเราใช้แม่ไม้หย่งชุนได้สอดคล้อง กับเหตุการณ์จริงเหล่านั้นแล้ว ผมเน้นให้คุณพัฒนาต่อไปโดยอาศัยการค้นคว้าของตัวเองเป็นคู่มือพัฒนาต่อไป

โดยอาจารย์หวังหลิน ฟง