วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักการ และความแตกต่างของมวยหย่งชุน

หลักการ และความแตกต่างของมวยหย่งชุน

1)มวยหย่งชุนไม่ใช่เป็นมวยที่มีแต่อ่อนอย่างเดียวอย่างที่คิดความเป็นจริงแล้วมีทั้งแข็ง-อ่อนผสมในเวลาเดียวกันด้วยหลักสุริยัน-จันทรา

2)มวยหย่งชุนหรือมวยจีนสายกังฟูทั่วไปเป็นมวยที่เน้นในเรื่องโครงสร้าง และแรงในเป็นหลัก

ขึ้นอยู่กับ 5 หลัก คือ

1. โครงสร้าง

2. ส่งแรง

3. สัมผัส

4. ความเร็ว

5. ประสบการณ์

3)ความแตกต่างของมวยหย่งชุนกับมวยจีนสายอื่นที่ไม่เหมือนกันคือ

1. รุกและรับ ในเวลาเดียวกัน

2. การสัมผัสที่สั้น และไวกว่า

3. ไม่ยึดติดกับลีลา และกระบวนท่า (แต่คงอยู่ในกระบวนท่า)

4. การฝึกฝนมุ่ง และทำลายจุดอ่อนของศัตรู และของตัวเอง

4)สำนักหงส์ฟ้ามังกรพยัคฆ์ไม่ได้เน้นสอนมวยหย่งชุนอย่างเดียว สาเหตุเพราะครูฝึกต้องการให้ลูกศิษย์ได้สัมผัส-เรียนรู้หลากหลายวิชา ในพื้นฐานความเป็นจริงของวิชาอื่นๆ เพื่อประโยชน์ต่อการฝึกฝนของลูกศิษย์


** การเรียนมวยอย่ามุ่งแต่ทฤษฏี และประวัติ ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติ และสัมผัสความเป็นจริง การอ่านฟัง ไหนจะรู้เท่าการอ้างอิง**

**อย่าหูเบา ควรเชื่อในสิ่งที่สัมผัส และเห็นกับตาด้วยตัวเอง**

(สำนักเรายินดีต้อนรับผู้ที่อยากรู้มวยจีนสายกังฟูที่แท้จริงเสมอ)

จาก...อ. หวังหลินฟง

ปรัชญาของเส้นศูนย์กลาง และหลักของร่างกายในหย่งชุน

ปรัชญาของเส้นศูนย์กลาง

หย่งชุนถือว่าเส้นกลางไม่เพียงเป็นเส้นที่ใช้ในการต่อสู้ แต่มันรวมถึงจิตใจของผู้ปฎิบัติ สิ่งที่เราทำ ปัญหาที่เราแก้ไข วิถีชีวิตที่เราดำเนิน ถ้าเราหันเหไปซ้ายหรือขวามากเกินไป เราจะต้องเสียเวลาพอสมควรที่จะกลับสู่เส้นศูนย์กลาง เส้นศูนย์กลางไม่มีความคิดของตนเอง มันเปรียบเหมือนหลักของขงจื้อ เส้นกลางทำให้เรามองโลกได้ดีขึ้น หลักการจู่โจมก็คือหลักเดียวกัน

หลักของร่างกายในหย่งชุน

ร่างกายนำมือและมือนำร่างกาย ถ้าร่างกายจะนำมือหมายถึงการที่เราใช้พลังทั้งร่างกายเมื่อออกพลัง ร่างกายจะนำมือไปยังตำแหน่งที่ต้องการเมื่อเราหมุนตัว ถ้ามือนำร่างกายหมายถึงการที่เราเน้นความเร็วเหนือพลัง หลักทั้งสองนี้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากเราควรจะหาตัวอย่างของทั้งสองไว้ เมื่อเรา (ชี้เสา) ในมวยหย่งชุน เราจะสามารถหาและใช้ได้ทั้งสองหลัก แต่จำไว้ว่าคนที่ตีได้ก่อนไม่จำเป็นเสมอว่าจะเป็นผู้ชนะ จำไว้ว่าเราจะทำแต้มหรือจะน๊อคเอาท์คู่ต่อสู้ ถ้าทำแต้ม คือ มือนำตัว ถ้าน๊อกเอาท์ คือ ตัวนำมือ

โดย อาจารย์หวังหลลินฟง

มวยเส้นหย่งชุน ฉั่มคิ่ว (มวยเส้นที่ 2)

ฉั่มคิ่ว (มวยเส้นที่ 2) เป็นการขยับตัวของโครงสร้างร่างกาย-น้ำหนักตัว-การส่งแรงให้มั่นคงรวมเป็นหนึ่ง

ฉั่มคิ่วเป็นมวยชุดที่สำคัญ ก้าวหน้า และมีประโยชน์ที่สุดของมวยหย่งชุน (ผิดกับมวยหย่งชุนค่ายอื่นที่เน้นมวยชุดปิ้วจี๋มากกว่า) มวยชุดนี้เน้นการควบคุมสะพานมือของคู่ต่อสู้ และความสำคัญของโครงสร้าง จำไว้ถึงการหมุน และการเคลื่อนสลับของท่าอื่น คุณต้องฝังรากลงบนพื้นไม่ใช่หมุน แบบลูกข่าง ถ้าคุณหมุนแบบลูกข่างผมสามารถตบคุณด้วยผากเสา และทำให้คุณเสียการทรงตัว ฉะนั้นฝึกฉั่มคิ่วต้องช้า และตั้งใจบนพื้นฐานอันมั่นคง

โดย อาจารย์หวังหลินฟง

มวยเส้นหย่งชุน สิ่วนิมเถ่า (มวยเส้นที่ 1)

สิ่วนิมเถ่า (มวยเส้นที่ 1) เป็นการฝึกวางโครงสร้าง-การส่งแรง-สมาธิ-ความสงบนิ่ง-ปัญญา

สิ่วนิมเถ่า คือ กระบวนท่าฝึกฝนมากกว่ากระบวนท่าต่อสู้ จุดที่สำคัญที่สุด คือ โครงสร้างของร่างกาย และท่ายืน ฝึกเพื่อที่จะย้ายน้ำหนักของร่างกาย และท่ายืน ไม่มีการเคลื่อนที่เกินจำเป็นในการส่งพลังไปตามอาวุธต่างๆ เมื่อเราชกขณะฝึกสิ่วนิมเถ่า เราไม่เน้นเป้าหมายที่แน่นอน ฉะนั้นไม่มีการเน้นหรือมุ่งหมายมากมายในขั้นต้นของการฝึกฝน เมื่อเรากำหมัดให้บีบนิ้วกลาง และนิ้วนาง เพราะนั่นจะทำให้หมัดเรียบ และยังทำให้เราส่งพลังธรรมชาติได้ หายใจเป็นปกติ ตามองเป้าหมายมือตาม ใช้สายตามองไปข้างหน้า ทุกทิศทาง ใจสงบตามความหมายของชื่อมวยชุดนี้ คือ อย่ามีความคิดที่ใหญ่ แต่คงที่ไว้ซึ่งความคิดเล็กๆ


ดูท่ารำได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=luLnNFM-YSM

โดย อาจารย์หวังหลินฟง

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์-3


สามเหลี่ยม และศูนย์กลางของมวยหย่งชุน
หลักของสามเหลี่ยม หันหน้าสู้ คือ การฝึกหัด เพื่อที่จะเรียนรู้ถึงเส้นศูนย์รวม จุดมุ่งหมาย คือ การฝึกเพื่อที่จะให้เราสามารถเข้ารุกคู่ต่อสู้ได้ ด้วยสองมือในเวลาเดียวกัน และปกป้องรัศมีของตัวเราในกรอบที่เล็ก และสั้นที่สุด เริ่มฝึกโดยให้คู่ฝึกซึ่งอยู่ในท่า ไป่จ๊อง (ท่าเตรียมพร้อม) ยืดมือทั้งออกทั้งสองข้าง ประกบมือทั้งสองให้เป็นรูปสามเหลี่ยม หันเข้าหาเส้นศูนย์กลางของคู่ฝึก เมื่อคู่ฝึกเปลี่ยน ไป่จ๊อง เราก็เปลี่ยนตามหลักของเส้นศูนย์กลาง เส้นศูนย์กลาง คือ เส้นที่เข้าทำผู้ต่อสู้ที่สั้นที่สุดระหว่างคุณกับผู้ต่อสู้ของคุณ จุดประสงค์หลักของมวยหย่งชุน คือ การโจมตี เข้าเส้นศูนย์กลางใช้มัน ครอบครองมัน ควบคุมมัน

หลักการ 5 วิธี ของเส้นศูนย์กลาง
1. หันเข้าหาเส้นศูนย์กลาง หันหาคู่ต่อสู้ จมูก ต่อ จมูก เพื่อที่จะควบคุม หรืออาศัยอยู่ในศูนย์กลาง
2. ควบคุมเส้นศูนย์กลาง เราคงอยู่ และควบคุมเส้นกลางด้วยม้า และสะพาน แล้วไม่ปล่อยให้คู่ต่อสู้พ้นจากการควบคุมเรา
3. เปลี่ยนเส้นศูนย์กลาง เมื่อคู่ต่อสู้ควบคุม หรืออาศัยในเส้นศูนย์กลางเรา เราเพียงจำต้องเปลี่ยนมุมของการโจมตี (หรือหาศูนย์กลางใหม่)
4. การกลับสู่เส้นศูนย์กลาง คล้ายหลักการของการเปลี่ยนเส้นศูนย์กลาง ถ้าคู่ต่อสู้ควบคุมเส้นศูนย์กลางเรา เราต้องสู้เพื่อกู้เส้นศูนย์กลางกลับคืนมา (โดยใช้หลักโครงสร้าง และพลัง 7 ข้อ)
5. การทำลายเส้นศูนย์กลาง เมื่อคู่ต่อสู้อาศัยอยู่ที่เส้นศูนย์กลางเรา เราสามารถที่จะทำลายเส้นศูนย์กลางของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนท่าของมวยหย่งชุน เพื่อทำลายศัตรู

โดย อาจารย์หวังหลิน ฟง

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์-2


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักมวยหย่งชุน
1. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่มี (กระบวนหรือระบบ) ของการป้องกันตัวที่สมบรูณ์แบบไม่ใช่เป็นแค่ชื่อมวย หรือสไตล์รูปแบบ ไม่มีลีลากระบวนท่าที่สวยงาม ไม่มีการกระโดดโลดเต้น เน้นในพื้นฐานของความเป็นจริง
2. จุดมุ่งหมายของมวยหย่งชุนมุ่งที่การทำลายความกล้าของฝั่งตรงข้าม มีรุกไม่มีถอย (ถอยเฉพาะสลายแรงในวงแคบ)
3. มวยหย่งชุนไม่ใช่มวยที่เน้นเทคนิค แต่เน้นคอนเซ็ปในเรื่องปรัชญา ความคิด และโครงสร้างขึ้นอยู่กับความเป็นจริง (โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-แพทย์แผนโบราณ)
4. มวยหย่งชุนเมื่อเทียบกับมวยอื่นๆ แล้วเป็นมวยที่มีกระบวนท่าที่เร็ว กระชับที่สุด มันถูกคิดค้นขึ้นมา ให้เป็นมวยที่มีพื้นฐานบนความเร็วหนักหน่วงมั่นคง
5. หย่งชุนเน้นหนักมากในการเข้ากระทำในเวลาที่ควรไม่มีรูปแบบ
6. หย่งชุนควบคุม และคงอยู่ที่เส้นศูนย์กลาง และสามเหลี่ยม
7. หย่งชุนดักศัตรูทั้งร่างกาย ด้วยความคิด อารมณ์ และการกระทำ
8. หย่งชุนเน้นการปรับเข้าหาสถานการณ์โดยอาศัยความรู้สึก และสัมผัส การฝึกชี่เสาเป็นการฝึกเพื่อที่จะลดเวลาการโต้ตอบ ควบคุมจุดอ่อนของตัวเอง และจุดอ่อนของผู้ต่อสู้
9. หย่งชุนไม่มีกระบวนท่าแน่นอน การใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (ไร้รูป ไร้กระบวนท่า)
10. การฝึกมวยหย่งชุนต้องเน้นคู่ฝึก (และควรมีคู่ฝึกหลายๆ รูปแบบ)
11. หย่งชุนออกแรงจากร่างกายทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะแขน-ขา เน้นแรงจากโครงสร้าง น้ำหนัก และแรงใน ใช้ในการจู่โจม และตั้งรับ
12. ฝ่าเท้าของมวยหย่งชุนสำคัญเท่ากับมือหย่งชุน คือ นิ่ง และหนักหน่วง
13. การฝึกมวยหย่งชุน ถ้าให้ดีควรสัมผัสกับมวยทุกชนิด-ทุกรูปแบบ
14. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่ไม่ยึดติดกับรูปร่างใหญ่-เล็ก หรือน้ำหนักมาก-เบา (รูปร่างใหญ่-เล็ก-หนัก-เบา ย่อมมีจุดอ่อนของโครงสร้างเหล่านั้น)
15. มวยหย่งชุนเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่อาศัยการผ่อนแรง-ตามแรง-สัมผัส-ส่งแรง ตามหลักกลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถฝึกได้จนแก่เฒ่า ก็ยังฝึกได้ แล้วยังใช้ได้ดีด้วย

โดยอาจารย์หวังหลินฟง

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์ผู้สอน-1



มวยหย่งชุน
มวยหย่งชุนเริ่มมีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา เนื่องจากศิษย์หย่งชุนในขณะนั้นมีกิติศักดิ์เป็นผู้ชอบท้าประลองกับค่ายมวยอื่นๆ หย่งชุนขึ้นชื่อว่าเป็นมวยดูเรียบๆ ตรงไปตรงมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ยึดติดกับมวยจีนโบราณ
ถึงแม้ผมจะเรียนมวยอื่นมามากมาย แต่ผมก็โชคดีมากที่มีโอกาสได้ศึกษามวยหย่งชุนสายยิปมันกับอาจารย์ 2 ท่านโดยตรง ได้ทั้งสายอ่อน และสายแข็ง ผมได้ค้นคว้าศึกษา ฝึกฝน และพัฒนาเพิ่มเติมจากประสบการณ์มาตลอด เพื่อตั้งใจสอบ และเพื่อเผยแพร่มวยชุดนี้ถึงบุคคลอันควรในยุคต่อไป
มวยหย่งชุนเป็นมวยที่เรียนไม่ยาก เนื่องจากมีมวยรำกระบวนท่าเพียง 5 เส้น หุ่นไม้ 2 เส้น กระบองหกแต้มครึ่ง และมีดคู่แปดกระบวน 1 เส้น สายเดินลมปราณภายใน 1 เส้น

ความคิดเห็นจากอาจารย์
ในฐานะเป็นครูฝึก คุณต้องจำไว้ว่า ในระยะแรกนั้นมวยหย่งชุนสอนง่ายมาก เรียนรู้ได้เร็ว แต่คุณได้ทดสอบหรือยังว่ามวยหย่งชุนของคุณ ใช้ได้จริงๆ คุณสามารถใช้ความสามารถของคุณได้ในสถานการณ์จริงหรือไม่ คุณเคยใช้ประสบการณ์จริงๆ หรือไม่กับใคร มวยชนิดใดหรือหลายชนิดสามารถใช้มวยหย่งชุนกับมวยเหล่านั้นได้ไหม เมื่อเราใช้แม่ไม้หย่งชุนได้สอดคล้อง กับเหตุการณ์จริงเหล่านั้นแล้ว ผมเน้นให้คุณพัฒนาต่อไปโดยอาศัยการค้นคว้าของตัวเองเป็นคู่มือพัฒนาต่อไป

โดยอาจารย์หวังหลิน ฟง

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติมวยหย่งชุน UP DATE

กว่า 250 ปีมาแล้วรัชสมัยของกษัตริย์ หยวนเซ็ง แห่งราชวงศ์ ชิง วัดเส้าหลินได้ถูกวางเพลิงโดยทหารมองโกล
การวางเพลิงครั้งนี้จึงส่งผลให้ 5 ปรมาจารย์ อาวุโสของ วัดเส้าหลินพร้อมลูกศิษย์ต้องฝ่าทหารมองโกล ลงทางใต้
ของเมืองจีน ปรมาจารย์ทั้ง 5 ได้แก่ หลวงจีนจี้ส่าน, แม่ชีไบ๋เหมย, แม่ชีหวู่เหมย, หลวงจีนฟองโตตั๊ก, หลวงจีนเมียงหิ่น รวมทั้งศิษย์ ฆราวาส ได้แก่ หงซีกวน ฟางซื่อยี่, ลกอาซาม, ถงเชียนจิน, หวูเว่ยฉวน, ชายหมี่จิ้ว และอื่นๆ
ปรมาจารย์ จี้ส่าน สอนศิษย์ ฆราวาสมากมายและได้นำศิษย์หล่านี้ต่อต้านแมนจู ในบรรดาศิษย์เหล่านี้นำโดยศิษย์พี่ชื่อ
หงซีกวน, ตงซินทุน, ฉอยอาฟุก พวกเขา ปฏิบัติการในเรือแดง โดย จี้ส่านได้ปลอมตัวเป็น พ่อครัวของคณะงิ้วเรือแดง
ส่วนปรมาจารย์ แม่ชีหวู่เหมย ได้หนีความวุ่นวายทั้งปวงไปยัง วัดกระเรียนขาวบนเขาไท่ซาน ในขณะเดียวกันได้คิดค้นวิทยายุทธ์แขนงใหม่ ซึ่งแตกต่างและมีประสิทธิภาพดีกว่าวิชาที่ได้เรียนจากวัดเส้าหลิน วิชานี้ แม่ชีได้ พบจุดเริ่มต้น
โดยบังเอิญเมื่อเธอได้เห็น จิ้งจอกต่อสู้กับนกกระเรียน ซึ่งจิ้งจอกวิ่งวนไปรอบๆนกกระเรียนเป็นวงกลมหวังหาจังหวะ
จู่โจมนกกระเรียน แต่ นกกระเรียนอยู่ในศูนย์กลางวงกลม หันหน้าเข้าหาจิ้งจอกตลอดเมื่อจิ้งจอกโจมตีนกกระเรียนก็ปัดและจิกโดยไม่วิ่งออกจากวงกลมอาศัยการป้องกันและโจมตีในเวลาเดียวกัน จากจุดนี้คือการค้นพบพื้นฐานของมวยชนิดใหม่
การต่อสู้ของมวยชนิดนี้คืออาศัยหลักการต่อสู้อันแยบยลตามหลักธรรมชาติของการหลบหลีก การเคลื่อนไหวด้วยการ
ปะทะแบบสลายแรงอย่างรวดเร็วพร้อมโจมตีเป็นเส้นตรงในเวลาเดียวกันทั้งรุกและรับในจังหวะเดียวกัน โดยการใช้โครงสร้างและสรีระของร่างกายแทนกำลังของมือและเท้าในการทำลายคู่ต่อสู้
ต่อมา แม่ชีหวู่เหมยได้รับลูกศิษย์ ซึ่งเป็นผู้หญิงชื่อ เหยิ่น หย่งชุน ได้ถ่ายทอดวิชายุทธย์แขนงใหม่นี้ให้และฝึกฝนจน
สามารถป้องกันตนเองได้แล้ว หย่งชุนจึงลงเขา ไท่ซ่านกลับไปหาบิดา จากนั้นหย่งชุนได้เอาวิชานี้สู้กับพวกอันธพาลที่มารังควานและรังแกประชาชนในมลฑลนั้นจนชนะทั้งหมดจึงสร้างชื่อเสียงขึ้นมา
หลังจากนั้นหย่งชุนได้แต่งงานกับ เหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามีแต่สามีไม่ยอมฝึกเพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝนมวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้วแต่หย่งชุนก็ได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะสามีทุกครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่งชุน ตามชื่อภรรยา
ผู้หญิงทั้งๆมีรูปร่างเล็กและบอบบางกว่าผู้ชายแต่แรงของผู้หญิงจะไปสู้กับแรงผู้ชายไดอย่างไรกัน มวยหย่งชุนเป็น
มวยผู้หญิง หลักวิชาต่างๆที่ถูดคิดค้นขึ้นในวิชานี้ เน้นสำหรับผู้หญิง หย่งชุน ใช้สรีระที่ถูกต้องบวกกับความเข้าใจแรงที่แตกฉานและการฝึกฝนที่ถูกหลักวิชา มีทั้งอ่ออนและแข็ง (ไม่ใช่มวยอ่อนอย่างเดียว)และขอเน้นว่าไม่ได้เน้นกำลังภายในอะไรทำนองนั้นแต่ใช้ความเข้าใจทางสรีระและวิทยาศาสตร์
หว่องว่าโป๋ว และเหลียงหยี่ไท่
วิทยายุทธ์หย่งชุนคงจะไม่มีในวันนี้หากเหลี่ยงหล่านไกวไม่สอนใครเลย แต่ว่าเขาได้สอน หว่องว่าโป๋ว นักแสดงงิ้วแห่งคณะงิ้วเรือแดงเป็นการบังเอิญที่ปรมาจารย์ จี้ส่านก็ได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวในคณะงิ้วเช่นกัน จี้ส่านในเวลานั้นได้สอนลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง เหลียงหยี่ไท นายคัดท้ายเรือคือหนึ่งนจำนวนศิษย์ซึ่งสนใจและได้รับการถ่ายทอดกระบองหกแต้มครึ่งหว่องว่าโป๋วและเหลี่ยงยี่ไท่ได้รู้จักชอบพอกันและแลกเปลี่ยนวิชากัน
หลังจากนั้นทั้งสองได้ดัดแปลงกระบองหกแต้มครึ่งโดยประยุกต์หลักการฟังด้วยการสัมผัสจากมวยหย่งชุนหรือชี้เสาและเรียกการฝึกฝนด้วยกระบองสัมผัสนี้ว่าชี้กวัน
การชี้เสามีวิธีการฝึกโดยคู่ฝึกใช้แขนสัมผัสตลอดการฝึกฝนโดยต่างฝ่ายต่างฟังการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายจากการสัมผัสในขณะที่พยายามปิดป้องและโจมตีในเวลาเดียวกันโดยใช้แม่ไม้มวยหย่งชุนระหว่างการฝึกแขนทั้งสองฝ่ายต้องไม่หลุดสัมผัสหรือแยกจากกันเลย
เหลียงจั่น
เหลี่ยงยี่ไท่ได้สอนเหลียงจั่นศิษยืคนเดียวเมื่อเขาเกือบเขาสู่วัยชรา เหลียงจั่นเป็นหมอแผนโบราณชื่อดังแห่งฝอซาน
แห่งมลฑลกวางตุ้ง เหลียงจั่นต่อมาได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งมวยหมัดหยงชุน หรือ ราชามวยประลองเนื่องจากนักมวยทั่วสารทิศได้มาประลองกับเหลี่ยงจั่น แต่ทุกคนก็ได้แพ้ไปในที่สุดเหลี่ยงชุนและเหลี่ยงปิ๊ก รวมทั้งหมกหยั่นหว่า (หว่าหุ่นไม้)
ผู้มีแขนทังสองอันแข็งแกร่ง ลูกศิษย์ที่สำคัญของเหลียงจั่นคือฉันหว่าซุนหรือผู้แลกเงินเจ๋าฉิ่นหว่าผู้ซึ่งได้แอบฝึกมวยหย่งชุนโดยมองผ่านเข้ามาตามซอกประตู จนกระทั่งเหลียงจั่นจับได้หลังจากที่เหลี่ยงซุ่นและฉานหว่าซุ่นได้ทำเก้าอี้ตัวโปรดหักระหว่างประลองกันและรับเป็นศิษย์ในที่สุด
ฉานหว่าซุนและศิษย์
ฉานหว่าซุนรับลูกศิษย์ทั้งหมดสิบหกคน มีศิษย์คนโตชื่อว่าหงึงชงโซวและศิษย์คนสุดท้ายคืออาจารย์หยิบมั่น อาจารย์หยิบมั่นสะสมเงินเพื่อมาขอเป็นศิษย์อาจารย์ฉานหว่านซุนเมื่อเขาอายุได้ประมาณ 11 ปี อาจารย์ฉานหว่าซุนจึงรับยิบมั่นเป็นลูกศิษย์คนสุกท้ายและสอนหยิบมั่นเป็นเวลา 6 ปีก่อนจะเสียชีวิตหลังจากนั้นยิบมั่นฝึกฝนต่อภายใต้การชีนำของศิษย์พี่ใหญ่หงึงชงโซว ยิบมั่นได้เข้าศึกษาต่อที่ฮ่องกง ด้วยความคะนองได้ท้าประลองไปทั่วฮ่องกงและความหึกเฮิมมีมากขึ้นเมื่อเขาชนะเสมอ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้พบคนแก่คนหนึ่งซึ่งผู้คนรู้จักกันดีว่ามีความสามารถยิบมั่นแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าให้กับชายแก่คนนนั้นซึ่งแท้จริงแล้วชายแก่ผู้นั้นคือ เหลียงปิ๊ก อาจารย์อา บุตรเหลียงจั่น หรือศษย์น้องของฉานหว่าซุนนั้นเองยิบมั่นหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจึงลาอาจารย์กลับเมืองจีน
ยิบหมั่น และ ศิษยหลังจากที่คอมมิวนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมายมี ฮอกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหย่งชุนจนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในบัจจุบันเป็นจำนวนมากมาย
บรู๊ซลีได้ไปอมเริกาและได้นำหมัดช่วงสั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่งขันศิลปป้องกันตัวของ ed parker ครูมวยคาราเต้รับบอเมริกันแคมโบ้ (American kempo) จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจเป็นจำนวนมากและเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ เคโต้ และอ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์ยิบมั่นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนักเมื่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้กับบรู๊ซได้ในเวลาอันสั้นด้วยความผิดหวัง บรู๊ซจึงได้คิดค้นมวยของตนเองขึ้นมาแล้วตัวชื่อว่า จิ๊ตคุนโด หรือวิชาหยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยทั้งสองแล้วย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหย่งชุนไว้อย่างมาก
ยิบมั่นเสียชีวิตลงในปี ค.ศ 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคบัจุบันของหย่งชุน

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

สำนัก หงษ์ฟ้า มังกร พยัคฆ์

สำนัก หงษ์ฟ้า มังกร พยัคฆ์ เป็นสำนักมวยกังฟูโบราณ
วิชาที่เปิดสอนมีดังนี้
- ท่าบริหารเลือดลม และลมปราณ
- มวย 18 อรหันต์ของ เส้าหลิน (แยกรําและใช้ป้องกันตัว)
- มวยหย่งชุน ของ แม่ชี วู่เหมย (เรียนป้องกันตัว)
- หมัดสายลม (เรียนให้มีพลังแข็งแกร่งและใช้)
- มวยไท้เก็ก ซึ่งเป็นไท้เก็กสายตระกูลเฉินและหยางแต่รวมเป็นหนึ่ง ของดั้งเดิม (แยกรําและใช้)
- มวยแชะแต้ะ งูเขียว (เรียนรุกและรับ คร่องแคล้ว ว่องไว)
- มวยปากั่วจ่าง (แยกรําและใช้)
- หมัดตั้กแตนเจ็ดดาว (แยกรําและใช้)
- และอื่นๆ
- อาวุธที่สอน เช่น กระบี่ ดาบ กระบอง ไม้คู่ ทวน เป็นต้น

โดยหลักที่จะสอนมวยหย่งชุนเป็นหลัก ซึ่งหารสอนหย่งชุนจะสอนเกี่ยวกับการบริหารร่างกายด้วยศิลปะมวยในการรักษาร่างกายและรักษาโรคภัยต่างๆ ด้วยวิชาโครงสร้าง ดั้งเดิม และสอนศิลปะป้องกันตัว โดยใช้หลักสรีระของร่างกาย ใช้หลักวิทยาสาสตร์ หลักคณิตศาสตร์ หลักแพทย์ศึกษามาประกอบในการฝึก (เพราะเป็นหลักกังฟูแท้ๆ ไม่ใช่หลักวูซูที่เห็นกันทั่วๆไป) โดยเฉพาะคุณผู้หญิง ฝึกแล้วหุ่นเพรียวสวยผิวพรรณสวย ลดความอ้วน รักษาโรคความดันสูง ความดันต่ำ โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจางเวียนหัว หน้ามืดบ่อยๆ ปวดหัว มือชา ขาชา ปวดเอว ปวดเข่า หอบเหนื่อยบ่อยๆ และปวดตามเส้นเอ็นและข้อต่างๆ (ผู้ชายก็ฝึกได้) เรียนแบบสบายๆไม่เจ็บตัว ไม่ทําให้ผิวฟกชําดําเขียว ไม่ทําให้เสียบุคลิกภาพ สามารถใช้ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาเรียนในระยะสั้นๆ ก็สามารถใช้ได้เลย จึงเหมาะสําหรับยุคสังคมในปัจจุบันซึ่งมีภัยคุกคามเยอะ ที่สําคัญมวยนี้เรียนแล้วไม่เหนื่อยมาก สนุกและใช้ป้องกันตัวได้จริง เราจึงอยากให้คุณผู้หญิง ทั้งที่สนใจ หรือไม่สนใจแต่อยากจะมีสุขภาพ ดีและป้องกันตัวได้ในเวลายามขับขัน มีวิชาที่ดีไว้สําหรับปกป้องตนเอง และผู้คนรอบข้างที่เรารักได้
** วิชานี้นิยมกันมากในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐ อเมริกา หรือ ประเทศที่ ตั้งทางทวีปยูโรปส่วนใหญ่ จะฝึกวิชานี้กัน ไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน อังกฤษ และวิชานี้เป็นวิชาที่บรูซลีเคยฝึกมาก่อน **

การสอนแยกเป็นสามหลัก
- เรียนท่าบริหารเลือดลม หรือลมปราณ เพื่อรักษาโรคภัยต่างๆ จากภายใน
- เรียนท่ารํามวยเส้น ให้หุ่นดีผิวพรรณสวย ลดความอ้วน คล่องแคล้ว ว่องไว ใจเย็น ด้วยท่ารําที่สวยงาม และรักษาโรคภัยต่างๆในปัจจุบันได้
- เรียนศิลปะป้องกันตัว ไม่ต้องใช้แรง ก็สามารถชนะผู้ชาย ได้ด้วยหลักสรีระของร่างกายและแรงใน

สถานที่สอน
- สวนลุมพินี (ในเกาะลอย)
สอนเฉพาะ เสาร์ กับ อาทิตย์ เวลา 9.00 - 12.00
- เซ็นทรัลปาร์คพระราม 2 (กลางสวน)
สอนเฉพาะ อังคาร กับ พฤหัส เวลา 18.00 - 20.00
เสาร์ เวลา 9.00 - 12.00
ระเบียบการ
ค่าสมัคร(ครั้งแรก) 1000 บาท ต่อ คน ตลอดชีพ
ค่าเรียน ช.ม ละ 200 บาท ต่อ คน
(สอนพิเศษชั่วโมงละ 500 บาท ต่อคน นอกสถานที่)
สอนโดย
อาจารย์ ชาย หลิน ฟง
อาจารย์ หญิง เพ้ง
สนใจติดต่อ T : 028966291-2 หรือ M : 0816260719
**นี่ไม่ใช่หนึ่งในสาขาสํานัก ของ อาจารย์ อนันต์ ซึ่งโดยหลักๆแล้วสํานักนี้จะเน้น ฝึกสอนหย่งชุนเป็นพิเศษ และใครที่ใช้ชื่อสำนัก หงษ์ฟ้า มังกร พยัคฆ์ แอบอ้างชื่อหรือเบอร์โทรนอกจากนี้ไม่ใช้ครูสอนของสำนัก**