วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนมวยหย่งชุน บทความจากอาจารย์-2


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักมวยหย่งชุน
1. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่มี (กระบวนหรือระบบ) ของการป้องกันตัวที่สมบรูณ์แบบไม่ใช่เป็นแค่ชื่อมวย หรือสไตล์รูปแบบ ไม่มีลีลากระบวนท่าที่สวยงาม ไม่มีการกระโดดโลดเต้น เน้นในพื้นฐานของความเป็นจริง
2. จุดมุ่งหมายของมวยหย่งชุนมุ่งที่การทำลายความกล้าของฝั่งตรงข้าม มีรุกไม่มีถอย (ถอยเฉพาะสลายแรงในวงแคบ)
3. มวยหย่งชุนไม่ใช่มวยที่เน้นเทคนิค แต่เน้นคอนเซ็ปในเรื่องปรัชญา ความคิด และโครงสร้างขึ้นอยู่กับความเป็นจริง (โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-แพทย์แผนโบราณ)
4. มวยหย่งชุนเมื่อเทียบกับมวยอื่นๆ แล้วเป็นมวยที่มีกระบวนท่าที่เร็ว กระชับที่สุด มันถูกคิดค้นขึ้นมา ให้เป็นมวยที่มีพื้นฐานบนความเร็วหนักหน่วงมั่นคง
5. หย่งชุนเน้นหนักมากในการเข้ากระทำในเวลาที่ควรไม่มีรูปแบบ
6. หย่งชุนควบคุม และคงอยู่ที่เส้นศูนย์กลาง และสามเหลี่ยม
7. หย่งชุนดักศัตรูทั้งร่างกาย ด้วยความคิด อารมณ์ และการกระทำ
8. หย่งชุนเน้นการปรับเข้าหาสถานการณ์โดยอาศัยความรู้สึก และสัมผัส การฝึกชี่เสาเป็นการฝึกเพื่อที่จะลดเวลาการโต้ตอบ ควบคุมจุดอ่อนของตัวเอง และจุดอ่อนของผู้ต่อสู้
9. หย่งชุนไม่มีกระบวนท่าแน่นอน การใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (ไร้รูป ไร้กระบวนท่า)
10. การฝึกมวยหย่งชุนต้องเน้นคู่ฝึก (และควรมีคู่ฝึกหลายๆ รูปแบบ)
11. หย่งชุนออกแรงจากร่างกายทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะแขน-ขา เน้นแรงจากโครงสร้าง น้ำหนัก และแรงใน ใช้ในการจู่โจม และตั้งรับ
12. ฝ่าเท้าของมวยหย่งชุนสำคัญเท่ากับมือหย่งชุน คือ นิ่ง และหนักหน่วง
13. การฝึกมวยหย่งชุน ถ้าให้ดีควรสัมผัสกับมวยทุกชนิด-ทุกรูปแบบ
14. มวยหย่งชุนเป็นมวยที่ไม่ยึดติดกับรูปร่างใหญ่-เล็ก หรือน้ำหนักมาก-เบา (รูปร่างใหญ่-เล็ก-หนัก-เบา ย่อมมีจุดอ่อนของโครงสร้างเหล่านั้น)
15. มวยหย่งชุนเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่อาศัยการผ่อนแรง-ตามแรง-สัมผัส-ส่งแรง ตามหลักกลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถฝึกได้จนแก่เฒ่า ก็ยังฝึกได้ แล้วยังใช้ได้ดีด้วย

โดยอาจารย์หวังหลินฟง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น